วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

ของฝากเมืองกำแพงเพชร

ตลาดกล้วยไข่ จ.กำแพงเพชร
     
“กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก” กำแพงเพชร จังหวัดที่นักท่องเที่ยวบางส่วนอาจไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก เพราะเป็นประตูทางผ่านสู่จังหวัดทางภาคเหนือ หรือเป็นที่แวะพักทานอาหารของรถทัวร์บางบริษัท แต่นักท่องเที่ยวบางส่วนทราบอยู่แล้วว่า กำแพงเพชรมีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อุทยานแห่งชาติคลองลาน บ่อน้ำร้อนพระร่วงเป็นต้น กำแพงเพชรยังมีที่พักราคาไม่แพง และที่สำคัญที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดเลยทีเดียวก็คือ “กล้วยไข่ กำแพงเพชร



 ตลาดกล้วยไข่ จะมีกล้วยไข่ที่เป็นหวี สุก และยังไม่สุกจำหน่าย ราคาหวีละประมาณ 20-25 บาท หลายท่านอาจจะคิดว่าหากล้วยไข่กินที่กรุงเทพ ฯ ก็ได้ไม่เห็นต้องไปซื้อที่กำแพงเพชรเลย (แต่อาจไม่ใช่กล้วยไข่จากกำแพงเพชรก็ได้นะครับ) สินค้าของตลาดกล้วยไข่ มีทั้งหน่อกล้วยจำหน่ายสำหรับนักปลูกต้นไม้ รวมทั้งมีการแปรรูปกล้วยไข่ให้เก็บไว้ได้นานยิ่งขึ้น เช่นกล้วยตาก กล้วยกวน กล้วยไข่อบน้ำผึ้ง สำหรับ" กล้วยไข่อบน้ำผึ้ง"นั้น แม้หน้าตาภายในกล่องจะดูไม่สวยงามเท่ากล้วยน้ำว้าอบน้ำผึ้งแต่เมื่อเปิดออกมาจะได้กลิ่นหอมอบอวลของกล้วยไข่ลอยมาแตะจมูกเป็นกลิ่นหอมหวานซึ่งโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์จริงๆ  
      หลังจากทีมงานได้ลองชิมกล้วยไข่กำแพงเพชรอบน้ำผึ้งแล้ว แนะนำว่ากล้วยไข่อบน้ำผึ้งถ้าเป็นลูกขนาดใหญ่หน่อยจะอร่อยและมีกลิ่นหอมเฉพาะของกล้วยไข่มากกว่าลูกเล็กแถมยังรสชาติดีกว่ากล้วยน้ำว้าหรือกล้วยชนิดอื่นๆอบน้ำผึ้งแน่นอน เพราะฉะนั้นกล้วยไข่อบน้ำผึ้งจึงเป็นของฝากจากกำแพงเพชรที่ไม่ควรพลาดซื้อหากลับไปฝากคนคุ้นเคยที่บ้านอย่างยิ่ง ฟันธง!! (นอกจากกล้วยไข่อบน้ำผึ้งจะอร่อยมากๆแล้ว คุณยังหาซื้อของฝากชนิดนี้จากแหล่งอื่นๆได้ยากมากนอกจากที่ตลาดกล้วยไข่กำแพงเพชรแห่งนี้ เนื่องจากมีการผลิตไม่มากและจำหน่ายอยู่ในวงจำกัดเล็กๆเท่านั้น) หากท่านได้ผ่านไปผ่านมาก็อย่ามองข้ามตลาดกล้วยไข่ แหล่งซื้อของฝากอีกแห่งบนถนน

ผลิตภัณฑ์ จากหินอ่อน


อำเภอพรานกระต่ายเป็นสถานที่ที่ได้มีการขุดพบหินอ่อนที่มีคุณภาพดี มีสีเขียว สีชมพูอ่อน สีขาวอมเทา โดยเฉพาะหิน
สีชมพูอ่อน สีสันสวยงามซึ่งมีแห่งเดียวในประเทศไทย ครั้งแรก ๆ ที่ค้นพบใหม่ ๆ ได้มีการใช้เครื่องจักกลเลื่อยหินอ่อน
แบ่งเป็นขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ เพื่อนำไปจำหน่ายเป็นหินปูพื้น ปูผนัง ในเวลาต่อมาได้มีการนำหินอ่อนไปทำการแกะสลัก 
กลึง เพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์จำหน่ายเป็นสินค้าซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของ อำเภอพรานกระต่าย เช่น โต๊ะอาหาร ขนาด 80 - 150 
ซม. พร้อมเก้าอี้, เสาโชว์โทรศัพท์, อ่างบัวแจกัน, งาช้าง, พระพุทธรูป ฯลฯ โดยจะเป็นแบบต่างคนต่างขายไม่มีการรวม
ตัวกัน ปัจจุบันผู้ประกอบการหัตถกรรมหินอ่อนได้มีการรวมกลุ่มเพื่อจัดระบบการผลิต การจำหน่ายในรูปของสมาชิก
สหกรณ์ฯ นอกจากนี้ยังมีผู้ผลิตที่เป็นผู้ประกอบการรายเดียว และ ผู้ประกอบการแบบ SMEs ที่ไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก
สหกรณ์ ได้ผลิตหัตถกรรมหินอ่อน และมีการพัฒนารูปแบบการผลิตให้มีความหลากหลาย เพื่อสนองความต้องการของ
ตลาด ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ขนาดเล็ก จนถึงขนาดใหญ่


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น