ของฝากเมืองกำแพงเพชร
วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558
ของฝากเมืองกำแพงเพชร
ตลาดกล้วยไข่ จ.กำแพงเพชร
“กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก” กำแพงเพชร จังหวัดที่นักท่องเที่ยวบางส่วนอาจไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก เพราะเป็นประตูทางผ่านสู่จังหวัดทางภาคเหนือ หรือเป็นที่แวะพักทานอาหารของรถทัวร์บางบริษัท แต่นักท่องเที่ยวบางส่วนทราบอยู่แล้วว่า กำแพงเพชรมีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อุทยานแห่งชาติคลองลาน บ่อน้ำร้อนพระร่วงเป็นต้น กำแพงเพชรยังมีที่พักราคาไม่แพง และที่สำคัญที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดเลยทีเดียวก็คือ “กล้วยไข่ กำแพงเพชร”
ตลาดกล้วยไข่ จะมีกล้วยไข่ที่เป็นหวี สุก และยังไม่สุกจำหน่าย ราคาหวีละประมาณ 20-25 บาท หลายท่านอาจจะคิดว่าหากล้วยไข่กินที่กรุงเทพ ฯ ก็ได้ไม่เห็นต้องไปซื้อที่กำแพงเพชรเลย (แต่อาจไม่ใช่กล้วยไข่จากกำแพงเพชรก็ได้นะครับ) สินค้าของตลาดกล้วยไข่ มีทั้งหน่อกล้วยจำหน่ายสำหรับนักปลูกต้นไม้ รวมทั้งมีการแปรรูปกล้วยไข่ให้เก็บไว้ได้นานยิ่งขึ้น เช่นกล้วยตาก กล้วยกวน กล้วยไข่อบน้ำผึ้ง สำหรับ" กล้วยไข่อบน้ำผึ้ง"นั้น แม้หน้าตาภายในกล่องจะดูไม่สวยงามเท่ากล้วยน้ำว้าอบน้ำผึ้งแต่เมื่อเปิดออกมาจะได้กลิ่นหอมอบอวลของกล้วยไข่ลอยมาแตะจมูกเป็นกลิ่นหอมหวานซึ่งโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์จริงๆ
หลังจากทีมงานได้ลองชิมกล้วยไข่กำแพงเพชรอบน้ำผึ้งแล้ว แนะนำว่ากล้วยไข่อบน้ำผึ้งถ้าเป็นลูกขนาดใหญ่หน่อยจะอร่อยและมีกลิ่นหอมเฉพาะของกล้วยไข่มากกว่าลูกเล็กแถมยังรสชาติดีกว่ากล้วยน้ำว้าหรือกล้วยชนิดอื่นๆอบน้ำผึ้งแน่นอน เพราะฉะนั้นกล้วยไข่อบน้ำผึ้งจึงเป็นของฝากจากกำแพงเพชรที่ไม่ควรพลาดซื้อหากลับไปฝากคนคุ้นเคยที่บ้านอย่างยิ่ง ฟันธง!! (นอกจากกล้วยไข่อบน้ำผึ้งจะอร่อยมากๆแล้ว คุณยังหาซื้อของฝากชนิดนี้จากแหล่งอื่นๆได้ยากมากนอกจากที่ตลาดกล้วยไข่กำแพงเพชรแห่งนี้ เนื่องจากมีการผลิตไม่มากและจำหน่ายอยู่ในวงจำกัดเล็กๆเท่านั้น) หากท่านได้ผ่านไปผ่านมาก็อย่ามองข้ามตลาดกล้วยไข่ แหล่งซื้อของฝากอีกแห่งบนถนน
ผลิตภัณฑ์ จากหินอ่อน
อำเภอพรานกระต่ายเป็นสถานที่ที่ได้มีการขุดพบหินอ่อนที่มีคุณภาพดี มีสีเขียว สีชมพูอ่อน สีขาวอมเทา โดยเฉพาะหิน
สีชมพูอ่อน สีสันสวยงามซึ่งมีแห่งเดียวในประเทศไทย ครั้งแรก ๆ ที่ค้นพบใหม่ ๆ ได้มีการใช้เครื่องจักกลเลื่อยหินอ่อน
แบ่งเป็นขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ เพื่อนำไปจำหน่ายเป็นหินปูพื้น ปูผนัง ในเวลาต่อมาได้มีการนำหินอ่อนไปทำการแกะสลัก
กลึง เพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์จำหน่ายเป็นสินค้าซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของ อำเภอพรานกระต่าย เช่น โต๊ะอาหาร ขนาด 80 - 150
ซม. พร้อมเก้าอี้, เสาโชว์โทรศัพท์, อ่างบัวแจกัน, งาช้าง, พระพุทธรูป ฯลฯ โดยจะเป็นแบบต่างคนต่างขายไม่มีการรวม
ตัวกัน ปัจจุบันผู้ประกอบการหัตถกรรมหินอ่อนได้มีการรวมกลุ่มเพื่อจัดระบบการผลิต การจำหน่ายในรูปของสมาชิก
สหกรณ์ฯ นอกจากนี้ยังมีผู้ผลิตที่เป็นผู้ประกอบการรายเดียว และ ผู้ประกอบการแบบ SMEs ที่ไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก
สหกรณ์ ได้ผลิตหัตถกรรมหินอ่อน และมีการพัฒนารูปแบบการผลิตให้มีความหลากหลาย เพื่อสนองความต้องการของ
ตลาด ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ขนาดเล็ก จนถึงขนาดใหญ่
เป็นขนมหวานของไทย ทำจากถั่ว งา
ข้าวคั่ว มาผัดกับน้ำตาล มักจะทำกันมากในช่วงสารทไทยแรม 15 ค่ำ เดือน 10
และบางท้องถิ่นนิยมรับประทานกับกล้วยไข่ มีกล่าวถึงในนิราศเดือนของนายมีว่า
เมื่อเดือนสิบเห็นกันเมื่อวันสารท ใส่อังคาสโภชนากระยาหาร กระยาสารท
กล้วยไข่ใส่โตกพาน พวกชาวบ้านถ้วนหน้าธารณะ กระยาสารทเป็นสัญญลักษณ์ของ
ผลิตผลทางการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ รวมทั้งเป็นการทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนา
ซึ่งเป็นการเก็บ พืชผลครั้งแรกอีกด้วย
เฉาก๊วยซากังราว
ความเป็นมาของเฉาก๋วยชากังราว
ความรับผิดชอบของเจ้าของกิจการที่ปรารถนาให้สมาชิกในครอบครัวมีความสุข
ทําให้
เขา(คุณเสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์
ประธานบริษัทเฉาก๋วยชากังราวจำกัด)เลือกที่จะทํางานหลายอย่างนอกเหนือจากการรับราชการ
ทั้งขายเฟอร์นิเจอร์ ขายบ้านเรือนเก่า ขายข้าวมันไก่-ข้าวขาหมู
เรียกว่าอะไรที่ทําได้ ทําแล้วไม่ผิดกฎหมาย ทําแล้วมีรายได้ เขาทําทุกอย่าง
ก่อนหน้าที่จะทําเฉาก๊วยชากังราว
กรรมวิธี
การผลิตเฉาก๊วยให้มีคุณภาพดีอย่างสม่ำเสมอนั้น
กระบวนการผลิตต้องเริ่มจากการคัดเลือกต้นพันธุ์เฉาก๊วยคุณภาพ นํามาเคี่ยวเอายาง
ถ้านําต้นเฉาก๊วยที่มีคุณภาพไม่ดีมาใช้ในการผลิต
นอกจากจะได้ยางเฉาก๊วยที่ไม่ดีแล้ว
กระบวนการผลิตเฉาก๊วยในครั้งนั้นก็จะเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์อีกด้วย
การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์
คิดรูปแบบการทําตลาดเพื่อสร้างความสนใจ
เฉาก๊วยเป็นเพียงของหวานธรรมดาชนิดหนึ่ง
ซึ่งจากการประเมิน คิดว่าคนไทยรู้จักเฉาก๊วย
แต่หลายคนยังไม่รู้ว่าเฉาก๊วยหน้าตาเป็นอย่างไร
ดังนั้นการทําตลาดจึงต้องหารูปแบบที่แปลกใหม่
เพื่อสร้างจุดสนใจให้กับผู้บริโภคในการไปออกบูธตามงานต่างๆ จะใช้เฉาก๊วยเป็นสื่อ
โดยนําต้นเฉาก๊วยไปตกแต่งที่บูธ และนําเฉาก๊วยไปเคี่ยวในงาน
เพื่อให้ผู้บริโภครู้จักหน้าตาของต้นเฉาก๊วยและเป็นสื่อในการแนะนําผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราวด้วย
กระดาษาเยื่อกล้วยไข่ สีธรรมชาติ ทำจากต้นกล้วย
ขนาด (Size
: cm) กว้าง 60 เซนติเมตร ยาว 90 เซนติเมตร
น้ำหนัก (Weight
: g) 50 กรัม
สถานที่จำหน่าย กลุ่มหัตถกรรมกระดาษจากต้นกล้วยไข่ 311 หมู่ 4
บ้านคลองเจริญ ตำบลท่าพุทรา อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร 62120 ติดต่อ : นางลักษณา สายวุฒิ โทร : 055
789368, 01 9717509
หัตกรรมจักรสาน
ความจำเป็นในการผลิตเครื่องจักสานขึ้นใช้ในถิ่นต่าง
ๆ นั้นพบว่าในหลายท้องถิ่น
ที่ได้มีการคิดงานจักสานขึ้นโดยจุดประสงค์แรกเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ใช้สอยในการดำรงชีวิต
เพิ่มเติมจากอาชีพทำไร่ทำนา เมื่อมีเวลาว่างจึงทำเพื่อแบ่งปัน จำหน่ายให้กับคนในชุมชน
รูปแบบชิ้นงาน และเกิดจากการถ่ายทอดสืบต่อกันมา ด้วยกระบวนการสร้างที่ประณีตงดงาม
เครื่องจักสาน
ได้กลายเป็นอาชีพ รองจากการทำไร่ทำนาน ซึ่งชาวชนบทใช้เวลาว่างในบางฤดูกาลทำเครื่อง
จักสานจำหน่าย เป็นรายได้พิเศษเป็นจำนวนไม่น้อย และในบางท้องถิ่นโดยเฉพาะใน
ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคอีสาน
มีการทำเครื่องจักสานเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนหลายแห่ง นับว่าการ ทำเครื่อง
จักสานเป็นศิลปหัตถกรรมและหัตถกรรมสำคัญที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของผู้คนจำนวนมากในสังคมไทยเช่นเดียวกับ
ชุมชนบ้านไทรย้อยพัฒนา หมู่ที่ 10 ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร
ซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรรมเลี้ยงชีพ
เครื่องจักสานจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการเลี้ยงชีพของตน
กล้วยกวนตองแก้ว
เนื่องจากวัตถุดิบในท้องถิ่นมีจำนวนมาก
เช่น กล้วย ส้มโอ เป็นต้น จึงได้นำมาแปรรูปเป็น
กล้วยกวนและส้มโอกวนและพัฒนาเป็นสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชรอีกอย่างหนึ่ง